วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
หน้าแรกคลังความรู้จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567

Google search engine

Advertisement

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567 มาตรฐานการปฏิบัติตน ที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู พ.ศ. 2556

จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง สวัสดีค่ะวันนี้ เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอม มีข้อมูลเกี่ยวกับ จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานการปฏิบัติตน ที่กำหนดเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 มาฝากเพื่อนๆกันค่ะ รายละเอียดดังนี้

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567
จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567

Advertisement

“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษา ที่ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐ และเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

“ครู”  หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีต่างๆ ในสถานศึกษาปมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

“บุคลากรทางการศึกษาอื่น”  หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

“จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผน ในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนํามา ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

Advertisement

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567
จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานวิชาชีพครู 2567

ดาวน์โหลดข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู พ.ศ. 2556 ได้ที่นี่

จรรยาบรรณวิชาชีพครูหมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณวิชาชีพครูหมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณวิชาชีพครูหมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
2.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
4.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
5.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณวิชาชีพครูหมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณวิชาชีพครูหมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ขอบคุณเนื้อหาจาก คุรุสภา

เรื่องราวอื่นๆที่น่าสนใจ แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 2567 ภาค ก. และ ภาค ข. จำนวนมาก เพื่อเตรียมสอบครูผู้ช่วย 2567

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments

error: Content is protected !!