Advertisement
นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
สวัสดีค่ะ สพฐ. ได้กำหนด จุดเน้น สพฐ. 2567 โดย นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีดังนี้ค่ะ
Advertisement
นโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย
๑.๑ สร้างคาวมปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพื่มความเชื่อมั่นของสังคมคมและป้องกันภัยคุกคามในชีวิตทุกรูปแบบ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียนครูและบุคลากรในรูปแบบต่างๆอย่างเข้มข้น
๑.๒ ปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และไซเบอร์อย่างสร้างสรรค์
๑.๓ ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้ และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๑.๔ พัฒนาบทบาทและภารกิจด้านความปลอดภัยของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน
๒.ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา
๒.๑ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ให้กับผู้เรียน
๒.๒ จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาให้กับผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในรูปแบบ Active Learning, STEM Education, Coding ฯลฯ และกระบวนการส่งต่อในระดับที่สูงขึ้น
๒.๓ พัฒนากระบวนการเรียนรู้และการวัดผล ประเมินผลฐานสมรรถนะ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นแห่งอนาคต
๒.๔ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้าน Soft Power ให้กับผู้เรียน
๒.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้เรียนรู้ตามความสนใจผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
๒.๖ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)
๒.๗ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยและบริบทของพื้นที่
๒.๘ ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับ ผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒๙. ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้นำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้ในการวางแผน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
๒.๑๐ พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน
๓. ด้านการสร้างโอกาศ ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย
๓.๑ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ในการติดตามและส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน
๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัย ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๓ พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบางรวมทั้งกลุ่มเยาวชนอายุ ๑๕๒๔ ปีที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs)
๓.๔ พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home-based Learing) รวมทั้งการศึกษาทางเลือกอื่น ๆ
๓.๕ พัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ในหน่วยงานที่จัดการศึกษาและให้มี หน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตในภาพรวม และการเชื่อมโยงทั้งระหว่างรูปแบบ ประเภทและระดับการศึกษา
๔. ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีเความสามารถในการแข่งขัน
๔.๑ พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นเพื่อการมีงานทำ
๔.๒ ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และยกระดับสมรรถนะกำลังคนตามกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ๔.๓ พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skil เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบหลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
๔.๔ ส่งเสริมการพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตามสมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ และการนำผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทำงาน ศึกษาต่อขอรับประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับวุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ๔.๕ จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start Up) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและ การเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ ด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่
๔.๖ เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกำลังแรงงาน ในภาคเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกรอัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้
Advertisement
๔.๗ พัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชนที่สอดคล้อง มาตรฐานอาชีพเพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะ และได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
๕.การส่งเสริม สนับสนุน วิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากร
๕.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการประเมินวิทยฐานะ โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (Digital Performance Appraisal : DPA)
๕.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบ ระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digtal Competengy) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา
๕.๓ พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
๕.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการวัดสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผล เพื่อนำผลไปใช้ ในการยกระดับการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลในชั้นเรียน
๕.๕ พัฒนาขีดความสามารถของครู และบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสม กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
๕.๖ ส่งเสริมสนับสนุนการทดสอบสมรรถนะครู และบุคลากรด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในการทำงาน ๕๗ เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม
๖. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล
๖.๑ ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ ด้วยนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data)การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
๖.๒ พัฒนาประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่าย สื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๓ พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจำเป็น และใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖.๔ เสริมสร้างคุณธรรม มาตรฐานทางจริยธรรมและปลุกจิตสำนึกต่อต้กนการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
๗. การขับเคลื่อนกฎหมายและแผนการศึกษาแห่งชาติ
ดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึง
จุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
๑. เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม องค์ความรู้ และทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัย รวมทั้งรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์
๒. เร่งรัดการดําเนินงานเชิงรุกของหน่วยงานในสังกัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและ ความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) โดยบูรณาการความร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดําเนินงานอย่างทันท่วงที
๓. ค้นหา ติดตาม ป้องกัน เฝ้าระวัง และดูแลช่วยเหลือ เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ด้วยรูปแบบในการ เข้าถึงการเรียนรู้ที่หลากหลาย
๔. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทํางาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs) ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อ อย่างมีคุณภาพ หรือฝึกทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
๕. พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะ ควบคู่กับการวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร รวมทั้งปรับปรุง หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ
๖. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานของสังคมไทย และ เป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทยและนําเสนอความเป็นไทยสู่สากล
๗. ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดพหุปัญญา มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการวัดและ ประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)
๘. ยกระดับการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีจรรยาบรรณและมาตรฐาน วิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครูและเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
๙. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอํานาจ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ให้สอดคล้องกับการทํางานแบบรัฐบาลดิจิทัล
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ดาวน์โหลดนโยบายและจุดเน้น สพฐ.2567 คลิกที่นี่
ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ.