Advertisement
คู่มือ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) จากสำนักงานการศึกษาพิเศษ
คู่มือ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) สวัสดีครับวันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีคู่มือการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) จากสำนักงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มาฝากคุณครูทุกท่านกันครับ รายละเอียดดังนี้
Advertisement
แผน IEP ย่อมาจาก Individualized Education Program หรือในภาษาไทยเรียกว่า “แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล”
โดยเป็นแผนการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการศึกษา
การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลมีผลดีต่อเด็กหลายประการ
1.ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
2.ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตามสภาพความแตกต่างกันของแต่ละคน
3.ช่วยให้การเรียนรู้ของเด็กดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผน
4.คุณครูผู้สอนรู้หน้าที่ของตนว่าจะสอนอย่างไร
5.ผู้ปกครองทราบว่าโรงเรียนจะสอนอะไรแก่เด็กบ้าง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Advertisement
หลักการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
กฎหมายการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ( Individuals with Disabilities Education Act :
IDEA ) ดังกล่าวเบื้องต้น ระบุให้จัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเพื่อการพัฒนาเด็กพิการทุกคน
โดยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลจะต้องได้รับการปรับให้ตอบสนองความต้องการจําเป็นพิเศษของผู้เรียน
เป็นเฉพาะบุคคลตามกระบวนการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ในกฎหมายฉบับดังกล่าวยังระบุถึง
หลักการเบื้องต้นตามกฎหมายในการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ ๖ ประการ ได้แก่
๑. เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษา (Zero reject) เป็นการให้โอกาสทางการศึกษาแก่ทุกคน รวมถึง
คนพิการ ต้องได้รับการประเมินค้นหาอย่างเป็นระบบ การคัดกรอง และประเมินตั้งแต่แรกเกิด หลักการนี้เป็น
การประกันความเท่าเทียมทางการศึกษา รวมไปถึงคนพิการด้วย ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการที่เหมาะสม
และมีประสิทธิภาพตามความต้องการจําเป็นพิเศษ
๒. การไม่เลือกปฏิบัติในการตรวจวัดเพื่อบ่งชี้และประเมิน (Nondiscriminatory identification
and evaluation) โดยผู้เรียนจะต้องได้รับการประเมินด้านต่างๆ ทุกด้าน โดยปราศจากอคติ และนักการ
ศึกษาจะต้องใช้กระบวนการและเครื่องมือที่หลากหลายในการประเมิน ซึ่งจะทําให้สามารถประเมินเด็กได้
สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงมากที่สุด
๓. การให้บริการทางการศึกษาแบบให้เปล่าที่เหมาะสม (Free Appropriate Public Education :
FAPE) โดยเด็กพิการทุกคนจะต้องมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ที่สนองตอบต่อความต้องการจําเป็น
พิเศษ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีเอกสารต่างๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่สามารถตรวจสอบกระบวนการ
จัดการศึกษาของครูได้ด้วย
๔ . การจัดการศึกษาใน สภาพแวดล้อมที่ มี ขีดจํากัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive
Environment : LRE) ผู้เรียนพิการควรได้รับการจัดการศึกษาในห้องเรียนรวมกับเด็กทั่วไป โดยสถานศึกษา
จะต้องจัดวางและมีบริการ การช่วยเหลือที่เป็นทางเลือกให้กับผู้เรียน ซึ่งจะทําให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะด้าน
ต่างๆ รวมทั้งทักษะสังคมและเรียนรู้ในสถานการณ์จริงที่สอดคล้องกับวัยวุฒิ เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้ถึงการใช้
ชีวิต ในสถานการณ์จริง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับนักเรียนทั่วไปที่จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย
๕. การพิทักษ์สิทธิในการรับบริการ (Procedural Due Process) เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบ
กระบวนการขั้นตอน การจัดวาง และสามารถที่จะตรวจสอบ รวมถึงพิทักษ์สิทธิของคนพิการ ระบบดังกล่าว
เป็นการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง
๖. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคนพิการ (Parental and Student Participation) เป็นการให้
ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดําเนินการในการรับบริการการศึกษาพิเศษ และการ
ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา กฎหมายดังกล่าวให้ความสําคัญกับคนพิการ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและคนพิการในการจัดการศึกษา และได้มีการกล่าวถึงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็น
เครื่องมือที่จะนําไปสู่การได้รับสิทธิต่าง ๆ โดยคํานึงถึงความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคลเป็น
หลัก
องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เป็นแผนให้บริการทางการศึกษาพิเศษ ที่จัดทําเป็นลายลักษณ์
อักษรให้กับผู้เรียนที่มีความบกพร่องเป็นเฉพาะบุคคล โดยความร่วมมือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและได้รับ
ความเห็นชอบจาก บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน และมีการทบทวนแผนตามความเหมาะสม
กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําแผนการจัดการศึกษา
เฉพาะบุคคลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๒ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
๑. ข้อมูลทั่วไป
๒. ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
๓. ข้อมูลด้านการศึกษา
๔. ข้อมูลอื่นๆ ที่จําเป็น
๕. การกําหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ
๖. ความต้องการด้านสิ่งอํานวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความ
ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
๗. คณะกรรมการจัดทําแผน
๘. ความเห็นของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน
สามารถดาวน์โหลดคู่มือการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลที่นี่